กระแสความนิยมเครื่องประดับลงยา

การลงยา (Enamel) เป็นวิธีหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในการเพิ่มสีสันให้กับงานออกแบบเครื่องประดับ และได้รับการยกระดับจากการเป็นเพียงเทคนิคตกแต่งมาเป็นเคลือบเพื่อปกป้องพื้นผิวและช่วยเพิ่มมิติใหม่ให้เครื่องประดับทองและเงิน โดยวิธีการลงยามีมากมาย และมีความน่าสนใจและโดดเด่นไม่แพ้กัน

สำหรับตัวสารที่ใช้ลงยานั้น ทำมาจากสารสีคล้ายแก้วธรรมชาติ ซึ่งปกติจะประกอบด้วยผงโปรแตสเซียม และซิลิก้าผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดสีสันที่สวยงามด้วยการใส่เมคะลิคอ็อกไซด์ และนำสารดังกล่าวไปใช้กับกระเบื้องเคลือบ ทอง เงิน ทองแดง แก้ว และอื่นๆ ขณะที่ตกแต่งพื้นผิว ด้วยการเผาอุณภูมิต่ำ

การลงยา ( ENAMELLING)
เป็นเทคนิคการตกแต่งวัสดุหลากชนิด การใช้การลงยา หรือการเคลือบบนพื้นผิว เพื่อวาดฉาก รูปร่าง หรือการจารึก หรือการทำร่องหรือการทำให้เกิดรอยเว้าเข้าไปในโลหะด้วยการอุดเฉพาะพื้นที่

   

กระบวนการใช้สีเคลือบ รู้จักกันในอียิปต์ตั้งแต่ 1,600 ปี ก่อนคริสตศักราชและเมืองไมซีนี่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณ ทางตอนใต้ของกรีก จากช่วง 1,400 ปี ก่อนคริสตศักราชวิธีนี้ใช้กันอย่างจำกัดในกรีก แต่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในเมืองไบแซนเที่ยม ในช่วงศตวรรษที่ 6 ในเมืองเวนิซตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 และที่อื่นๆ ในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเฉพาะที่ลิโมเกส ซึ่งได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของการตกแต่ง ด้วยเครื่องเคลือบลงสี เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในอังกฤษ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 และโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 1750 เป็นต้นไป เทคนิคนี้ถูกนำไปใช้ตกแต่งเครื่องประดับ ด้วยวิธีการทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยใช้ทั้งกับทองคำเงินหรือทองแดง บางครั้งก็ใช้กับเหล็กหรือทองเหลือง เพื่อใช้กับการเคลือบแบบทึบแสง นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้บนแก้ว หรือผลึกแก้ว (CRYSTAL) หรือบนรูปทรงต่าง ๆ หรืองานภาพนูนแกะสลัก

CHAMPLEVE

เป็นชื่อมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง "การทำลายนูน" โดยในกระบวนการนี้ พื้นผิวของโลหะจะถูกทำเป็นช่อง ด้วยวิธีการแกะ การกัดสลัก การแกะสลักด้วยแสง และการบด หลังจากนั้นจึงทำการลงยา โดยพื้นของช่องจะทำให้เกิดฟื้นผิวขึ้นได้ และยาที่ลงไว้ก็จะทำให้เกิดระดับต่างๆขึ้น โดยบริเวณที่โลหะตัดกัน จะเป็นตัวกำหนดให้เกิดช่องขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวทำให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิค ของการตกแต่งด้วยการลงยา ในแบบที่สร้างขึ้นด้วยเส้น และช่องต่างๆ ที่ตัดเข้าไปในเนื้อโลหะ และอุดด้วยผงเคลือบของสีต่างๆ หลังจากนั้นจึงเผา ให้ยาที่ลงไว้หลอมละลาย หลังการเผา จะทำให้พื้นผิวราบเรียบ ด้วยสารบางชนิดและทำการขัดเงา เพื่อให้ปรับระดับพื้นผิวทั้งหมด การตกแต่งด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะทำกับทองเหลือง และทองแดง แต่บางครั้งก็นำไปใช้กับทอง

BASSE-TAILLE

มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า basse - taille หมายถึง low - cut ตามกระบวนการนี้ พื้นผิวของโลหะที่จะถูกลงยา จะมีการออกแบบลายนูนต่ำ ซึ่งจะทำให้พื้นผิวที่ได้รับการตกแต่ง สามารถมองเห็นได้จากยา ที่ลงไว้อย่างโปร่งแสง และโปร่งใส พื้นผิวด้านหน้าจะสะท้อนแสง และความลึกของรอยตัด จะทำให้เห็นความลึกของสี ที่ลงยาไว้ด้วยเป็นเทคนิคการตกแต่งด้วยการลงยา บนพื้นผิวของโลหะ ซึ่งมีการออกแบบ ที่เล่นระดับต่างๆกันเอาไว้แล้ว ทั้งด้วยการดุนลาย, แกะ ,สลักหรือทุบต่อจากนั้นพื้นผิวก็จะถูกปกคลุมด้วยสีเคลือบที่โปร่งแสง และโปร่งใส (แต่ไม่มีส่วนกั้น เพื่อแยกสีออกจากกัน) จากนั้นจึงจะหลอมละลาย ด้วยไฟ ความลึกระดับต่างๆ กันของแบบ จะสะท้อนให้เห็นสีเคลือบ ระดับต่างๆกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรอยนูนต่างๆ ขึ้นด้วย การตกแต่งด้วยการลงยา หลังจากมีการเผาและขัดเงา จะเกิดความเนียนเรียบ ติดกับพื้นผิวหน้าของโลหะ โดยปกติพื้นผิวของโลหะ จะเป็นทองหรือเงิน การลงยาบางครั้ง จะใช้สีต่างๆกัน แต่จะให้ผลดีที่สุด เมื่อใช้เพียงสีเดียว (โดยปกติใช้สีน้ำเงิน หรือเขียว) เทคนิคนี้ว่ากันว่า มีต้นกำเนิดในอิตาลี ช่วงปลายศตวรรษที่ 13-14 และหลังจากนั้น มีการนำไปใช้ในที่ต่างๆ ในทวีปเดียวกัน โดยเฉพาะในไรน์แลนด์ และฝรั่งเศส และในอังกฤษ บางครั้งเรียกว่า "การลงยาแบบโปร่งแสง"


CLOISONNE

มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "cloison" ที่หมายถึงช่อง ซึ่งตามเทคนิคนี้ ช่องเล็กๆที่จะใช้ลงยา จะถูกปิดกั้นด้วยลวดโลหะเส้นบางๆ ที่เรียกว่า "cloisonne wire" โดยลวดเส้นบางๆนี้ จะถูกจัดให้เป็นรูปร่างต่างๆ ก่อนหลังจากนั้นจึงจะติดเข้ากับพื้นผิว โดยใช้ของเหลวหรือด้วยการเชื่อมต่อจากนั้นจึงจะทำการลงยา ลงบริเวณที่ถูกกำหนดเอาไว้ ด้วย cloisonne wire

PAINTING

หรือที่รู้จักกันว่า "การลงยาแบบไลโมเกส" ด้วยวิธีการนี้ สีลงยาอย่างดี จะถูกนำมาทาเป็นพื้น เพื่อเป็นการสร้างภาพให้เกิดขึ้น โดยส่วนมากมักนำมาใช้บนพื้นลงยาสีขาว ทึบแสง คุณภาพของภาพวาด จากสีลงยา ทำให้มีความเหมาะสมเป็นพิเศษ สำหรับภาพถ่ายแบบสามารถถูกวาด ลงบนพื้นสีขาวได้โดยตรง หรือไม่ก็อาจจะมีการร่างภาพขึ้นก่อน แล้วค่อยย้ายไปลงบนพื้นที่ ที่ต้องการได้ในภายหลัง

PLIQUE-A-JOUR

มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การถักทอในแสงแดด การลงยาวิธีนี้ จะไม่มีด้านหลัง เพราะต้องการให้เห็นทั้ง 2 ด้าน ช่องต่างๆ จะถูกตัดออกจากแผ่นโลหะก่อน หลังจากนั้นจึงจะทำการลงยา โดยยาที่ลงไว้จะไปหุ้มปิดช่องต่างๆ ซึ่งเกิดจาก การดึงดูดกันและกัน ของตัวยาที่ลงไว้ แต่การลงยาวิธีนี้ ไม่ค่อยมีความคงทนนัก หากโลหะเกิดการงอ ก็จะทำให้วัตถุที่ลงยาไว้ เกิดรอยแตกขึ้นได้ เป็นเทคนิคการประดับตกแต่ง ในการลงยาโดยการออกแบบ จะกำหนดแบบร่างลงในโลหะและเติมด้วยสีลงยาโปร่งใสสีต่างๆ แต่จะไม่มีแผ่นโลหะ หนุนด้านหลังการลงยา เพื่อต้องการให้ผลลัพธ์ออกมา มีความคล้ายคลึงกับหน้าต่าง ที่ประดับด้วยกระจกสี วิธีการหนึ่งก็คือ การผสมสารละลายเข้าไปในการลงยา เพื่อให้เกิดความเหนียวไม่ไหลทิ้ง แต่บ่อยครั้ง ที่งานโลหะที่เป็นลายโปร่ง มักจะติดกับแผ่นทองแดงที่บางมากๆ หลังจากนั้นจะลงยา เพื่อให้ทนทานมากขึ้น หลังจากนั้น จึงทำการหลอมทองแดง ออกมาด้วยการนำไปจุ่ม กับกรด ซึ่งก็จะเหลือเพียงยาที่ลงไว้ สำหรับงานประเภทเครื่องประดับ อัญมณีมักจะใช้เทคนิคนี้ กับการทำตัวเรือนที่เป็นทองคำ แต่เทคนิคนี้ ก็มีการนำไปใช้กับเครื่องลายคราม โดยวิธีการดังกล่าวถูกค้นพบในศตวรรษที่ 15 โดยผู้ใช้คือ BENVENUTO CELLINI และคนอื่นๆในยุคเรอเนสซองค์ และถูกนำมาใช้ในฝรั่งเศสอีกในปี 1900 สำหรับเทคนิคดังกล่าวนี้ ภาษาเยอรมันเรียกว่า "FENSTEREMAIL" (WINDOW ENAMEL) ไว้จึงยังคงเกาะอยู่บนพื้นผิว ซึ่งสัมผัสได้จากปลายนิ้ว

อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)