สถานที่ติดต่อ
ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี
และเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม
แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

โทรศัพท์ 0 2634 4999 ต่อ 409
โทรสาร 0 2634 4970
อีเมล

เวลาทำการ
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น.
เว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์
และวันหยุดตามประกาศของสถาบัน

ราคาค่าบริการตรวจสอบด้วยเครื่องมือขั้นสูง

เครื่องมือ

เครื่องมือพื้นฐาน (Basic Instruments)

เป็นชุดเครื่องมือที่สามารถใช้ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ขนาด น้ำหนัก ของอัญมณี เช่น เครื่องวัดค่าดัชนีหักเหแสง (Refractometer) โพลาริสโคป (Polariscope) กล้องจุลทรรศน์สำหรับส่องดูอัญมณี (Gem Microscope) แว่นขยายกำลังขยาย 10 เท่า (10x Loupe ) เครื่องหาค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity Balance) กล่องตรวจสอบการเรืองแสงยูวี (UV-Lamp Box) สเปคโตรสโคป (Spectroscope) แผ่นกรองแสงดูอัญมณี (Chelsea Color Filter) อุปกรณ์ดูสีแฝดของอัญมณี (Dichroscope) และแสงชนิด Fiber Optic เป็นต้น

เครื่องมือขั้นสูง (Advanced Instruments)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เชิงลึกทางสเปกโตรสโคปีของอัญมณี เช่นเดียวกับที่มีใช้อยู่ในสถาบันอัญมณี ชั้นนำของโลก โดยใช้พิจารณาข้อมูลร่วมกันจากเครื่องมือหลายชนิด ได้แก่

  1. Energy Dispersive X-Ray Fluorescence Spectrometer (EDXRF) ใช้ตรวจจำแนกอัญมณีสังเคราะห์กับอัญมณีธรรมชาติ ตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพในอัญมณีบางชนิดและตรวจสอบธาตุองค์ประกอบเพื่อบอกแหล่งกำเนิดของอัญมณี

  2. Energy Dispersive X-Ray Fluorescence Spectrometer (EDXRF)


  3. Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FTIR) ใช้ตรวจจำแนกอัญมณีสังเคราะห์และอัญมณีธรรมชาติตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพในอัญมณีบางชนิด เช่น หยกอัดโพลิเมอร์ และมรกตเพิ่มความใส ด้วยน้ำมันหรือโพลิเมอร์ เป็นต้น

  4. Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FTIR)


  5. Laser Raman Spectroscope (Raman) ใช้ตรวจสอบจำแนกชนิดของอัญมณีอย่างรวดเร็ว เช่น อัญมณีในตัวเรือน อัญมณีดิบตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพในอัญมณีบางชนิด นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจวิเคราะห์มลทินแร่ในอัญมณี เพื่อช่วยในการบอกแหล่งที่มาทางภูมิศาสตร์ของอัญมณีใช้ในการตรวจสอบเพชรที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนและความดันสูง (HPHT) เป็นต้น

  6. Laser Raman Spectroscope (Raman)


  7. UV-Vis-NIR Spectrophotometer ใช้ตรวจสอบอัญมณีที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน เช่น ทับทิม แซปไฟร์ ตรวจจำแนกอัญมณีสังเคราะห์กับอัญมณีธรรมชาติ ตรวจสอบแหล่งกำเนิดของอัญมณี ตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพในอัญมณีบางชนิด และตรวจสอบความเป็นธรรมชาติของสีเพชร เป็นต้น

  8. UV-Vis-NIR Spectrophotometer


  9. Soft X-Ray Instrument ใช้ตรวจจำแนกมุกธรรมชาติและมุกเลี้ยง ตรวจหาความหนาของชั้นมุก (Nacre Thickness) และยังสามารถตรวจจำแนกเพชรกับอัญมณีเลียนแบบเพชร และตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพความใสด้วยแก้ว หรือแก้วตะกั่วของอัญมณีบางชนิด เช่น ในเพชรและทับทิม ได้อีกด้วย

  10. Soft X-Ray Instrument


  11. Laser Induced Breakdown Spectrometer (LIBS) ใช้ให้บริการตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพพลอยทับทิม และแซปไฟร์ที่ผ่านการเพิ่มคุณภาพโดยการ เผาร่วมกับสารเบริลเลียม (Be)

  12. Laser Induced Breakdown Spectrometer (LIBS)


  13. Sarin Diavision Proportion Meter ใช้วัดสัดส่วนการเจียระไนของเพชร

  14. Sarin Diavision Proportion Meter


  15. Laser Ablation Inductively Couple Plasma Mass Spectrometer (LA-ICP-MS) ใช้ตรวจจำแนกอัญมณีสังเคราะห์กับอัญมณีธรรมชาติ ตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพในพลอยทับทิม และแซปไฟร์ ที่ผ่านการเพิ่มคุณภาพโดยการเผาร่วมกับสารเบริลเลียม (Be) และตรวจสอบธาตุองค์ประกอบเพื่อบอกแหล่งกำเนิดของอัญมณี

  16. LA-ICP-MS

เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า
ICP (Inductively Couple Plasma)

ICP (Inductively Couple Plasma)

ใช้สำหรับวิเคราะห์หาความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่าอย่างละเอียด แต่จะต้องมีการดึงเนื้อโลหะตัวอย่างออกมาใช้ประมาณ 20 - 50 มิลลิกรัม สามารถหาปริมาณธาตุต่างๆ ในโลหะมีค่าได้ถูกต้องแม่นยำสูง เช่น ปริมาณทอง ปริมาณนิกเกิล ในเนื้อทอง หรือองค์ประกอบทั้งหมดของโลหะ Alloy ที่ใช้ทำเครื่องประดับ

AUTO-TITRATION

AUTO-TITRATION

ใช้สำหรับวัดค่าความบริสุทธิ์ของเงินได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็ว โดยจะต้องใช้เนื้อของตัวอย่างประมาณ 0.4 - 0.6 กรัม เป็นวิธีมาตรฐานที่ห้องปฏิบัติตรวจสอบโลหะมีค่าซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ใช้ในการวัดค่าความบริสุทธิ์ของเงิน


XRF (X-ray Fluorescent)

XRF (X-ray Fluorescent)

ใช้สำหรับวัดค่าความบริสุทธิ์ หรือ ส่วนประกอบต่างๆ ของโลหะโดยคร่าวๆ ไม่มีการสูญเสียเนื้อของตัวอย่าง ทำได้รวดเร็ว แต่วิเคราะห์ได้เฉพาะส่วนประกอบบริเวณพื้นผิวนอกของชิ้นงานความลึกไม่เกิน 100 ไมครอน และค่าความบริสุทธิ์จะมี การคลาดเคลื่อนไปจากความจริงบ้าง โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิว รูปร่างของวัตถุ และตัวอย่างมาตรฐานที่ใช้ใน การปรับเทียบ


LASER INSCRIPTION

LASER INSCRIPTION

ใช้สำหรับแกะสลักข้อความ หรือสัญลักษณ์ลงบนเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่า โดยสามารถเลือกรูปแบบและขนาด ของตัวหนังสือตามความต้องการ โดยต้องมี Font หรือ Logo อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว มิฉะนั้นลูกค้าจะต้องนำ Font file มาให้ ส่วน Logo ควรเป็น file ของ Adobe llustrator หรือ Corel Draw


FIRE ASSAY

FIRE ASSAY