โอปอล (Opal)

โอปอ (Opal) อัญมณีประจำเดือนตุลาคม ถือเป็นอัญมณีนำโชคของคนที่เกิดราศีตุลย์ สมัยโบราณเชื่อกันว่า โอปอ เป็นอัญมณีแห่งความหวัง ความรัก ความปรารถนา ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จ สามารถป้องกันอันตรายจากศัตรูได้ นอกจากนั้นยังเชื่อว่า โอปอ สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆได้ เช่น อาการที่เกี่ยวข้องกับตา ป้องกันอาหารเป็นพิษ และช่วยบำบัดจิตใจที่สับสนวุ่นวายได้ ทำให้มีความสงบมากขึ้น และมีความจำดีขึ้น เป็นต้น

คำว่า OPAL จริงๆแล้วมาจากภาษาสันสกฤต UPALA (อูพาลา) แปลว่าหินที่มีค่า โอปอ เป็นอัญมณีที่มีสมบัติแตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่น คือมีสีสันแปลกตา เป็นประกายเจิดจรัสดั่งสีของสายรุ้ง

ในทางวิชาแร่ โอปอจัดเป็นแร่ในตระกูลควอรตซ์ชนิดหนึ่ง คือมีเนื้อเป็นซิลิกา (Silica) และมีน้ำปนอยู่ในเนื้อประมาณ 3 - 10 เปอร์เซ็นต์ อาจมีสูงได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยมีสูตรทางเคมีเป็น SiO2.nH2O


ปัจจุบันหากพูดถึงแซฟไฟร์ "Sapphire" คำเดียวจะหมายถึง Blue Sapphire หรือ ไพลิน เพราะ Sapphire มาจากภาษาเปอร์เชีย "Saffir" หรือ จาก ภาษากรีก "Sappheiros"แปลว่า ผู้เป็นที่รักของ Saturn (เทพเจ้าแห่งกรีก) และหมายถึงสีน้ำเงิน "Blue" ซึ่งสมัยโบราณ จะเรียกพลอยคอรันดัมที่มีสีน้ำเงินว่าแซฟไฟร์แต่ในความเป็นจริงพลอยคอรันดัมประเภท Sapphire มีได้หลากสี เช่น สีเหลือง, ชมพู, ม่วง, เขียว เป็นต้น ดังนั้นหากเราต้องการจะเรียกพลอยคอรันดัมชนิดอื่นที่ไม่ใช่ไพลิน (Blue Sapphire) เราจะต้องระบุ สีด้วย เช่น Yellow Sapphire(บุษราคัม), Green Sapphire (เขียวส่อง), Pink Sapphire (พลอยแซปไฟร์สีชมพู) เป็นต้น ในปัจจุบันไพลินส่วนใหญ่มักผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนหรือที่เราเรียกกันว่าการเผา แต่ก็ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปในตลาดพลอย เพราะการเผาจะทำให้สีดีของไพลินดีขึ้นและอยู่คงทนถาวร

สูตรเคมี:    SiO2.nH2O
ระบบผลึก:    เป็นแร่อสัณฐาน (Amorphous) ไม่มีโครงสร้างเป็นรูปผลึก
ความถ่วงจำเพาะ:    1.98 - 2.20
ค่าดัชนีหักเห:    1.37 - 1.52
รอยแยกแนวเรียบ:    ไม่มี
รอยแตก:    แตกเป็นรูปก้นหอย(Conchoidal)
ความแข็ง:    5.5 - 6.5
ปรากฏการณ์ทางแสง:    การเล่นสี (Play of colour) ตาแมว (Cat's eye)

โอปอเป็นอัญมณีเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่กี่ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างเป็นรูปผลึก แต่มีเนื้อแน่นละเอียดยิบ (Crystalline aggregate)

โดยปกติ โอปอจะมีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.98 - 2.20 นับว่าเป็นพลอยที่มีน้ำหนักค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับรัตนชาติตัวอื่น มีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.37 - 1.52 ทั้งค่าความถ่วงจำเพาะและค่าดัชนีหักเหปกติ อาจแปรเปลี่ยนได้ตามจำนวนของน้ำที่ปะปนอยู่ภายในเนื้อ

โอปอไม่มีรอยแยกแนวเรียบ (Clevage) อย่างรัตนชาติชนิดอื่น มีแต่เฉพาะรอยแตกที่แตกเป็นรูปก้นหอย

โอปอ มีความแข็งอ่อนกว่าเนื้อควอรตซ์ เพราะมีความแข็ง 5.5 - 5.6 มีความวาวคล้ายแก้ว

  • Precious opal เป็นโอปอที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือมีการเล่นสีเป็นประกายสวยงาม คล้ายเหลือบประกายรุ้งที่เปลี่ยนสีได้เมื่อหมุนพลอยไปมาในทิศทางที่ต่างกัน เรียกปรากฏการณ์พิเศษนี้ว่า โอปอเลสเซนต์ (Opalescence) หรือ การเล่นสี (Play of colour) พลอยที่จัดว่าเป็น Precious opal ได้แก่

    • โอปอสีขาว (White opal) มีสีขาวหรือสีอ่อนเป็นพื้น
    • โอปอสีดำ (Black opal) มีสีเทาเข้ม น้ำเงินเข้ม เขียวเข้ม หรือเทาดำเป็นพื้น เป็นชนิดที่ค่อนข้างหายาก
    • โอปอแมทริกซ์ (Matrix opal) ส่วนที่เล่นสีของโอปอจะแทรกอยู่ตามรอยช่องว่าง หรือรูพรุนในเนื้อหิน

  • Fire opal เป็นโอปอสีส้ม หรือสีแดงเหมือนสีของเปลวไฟ มีลักษณะโปร่งใส เมื่อนำมาส่องดูภายใต้แสงไฟจะเห็นสีสะท้อนบนผิวเหมือนเปลวไฟเกิดขึ้น จึงเรียกว่า Fire opal หรือ โอปอไฟ ชนิดที่ดีที่สุดจะมีเนื้อโปร่งใสและสะอาดบริสุทธิ์ แต่จะเปราะและแตกง่าย ไม่ทนต่อแรงกดกระแทก และสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งของโอปอชนิดนี้

  • Common opal เป็นโอปอชนิดธรรมดาทั่วไป ส่วนใหญ่จะมีเนื้อทึบ ไม่มีการเล่นสีให้เห็น ชื่อทางการค้ามีหลายชนิดเช่น อะเกต โอปอ (Agate opal) ไฮยาไลต์ (Hyalite) วูด โอปอ (Wood opal) ฮันนี่ โอปอ (Honey opal) เป็นต้น